*
*
*
*

วันจันทร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2558

ขั้นตอนการทำ EM Ball

ขั้นตอนการทำ EM Ball

1.นำรำละเอียด 2 ส่วน รำหยาบ 2 ส่วน ดินทรายละเอียด 1 ส่วน มาผสมกัน คลุกเคล้าให้ทั่ว 



2. EM 10 ช้อนแกง กากน้ำตาล 10 ช้อนแกง น้ำ 10 ลิตร ผสมให้เข้ากัน


3.จากนั้นนำทั้งสอง อย่างมาคลุกเคล้าให้เข้ากัน แนะนำว่า ค่อยๆเทน้ำ EM ที่ผสมแล้วลงไปครับ เเละใส่ดินเหนี่ยว ทรายเเละเเกลบเพื่อให้ปั้นง่าย




4.จากนั้นพอปั้นเป็นก้อน ก็ให้นำไปวางผึ่งลมให้แห้งนะครับ 


5.หลังจากนั้นควรเก็บไว้อีกซัก 10-15 วัน เพื่อให้เชื่อเริ่มทำงานนะครับ ใครได้ EM Ball ใหม่สด เพิ่งแห้ง โยนลงไปอาจจะทำให้ไม่ได้ประสิทธิภาพเท่าที่ควรนะครับ ควรรอซักระยะให้เชื้อเริ่มขยายจำนวนก่อน


วัสดุที่ต้องการใช้ในการ EM Ball

วัสดุที่ต้องการใช้ในการทำ EM Ball

1.รำละเอียด


2.เเกลบ


3.หัวเชื้อEM


4.น้ำ


5.กากน้ำตาล



6.ดินเหนี่ยว



7.ทราย




บทนำ

บทนำ 
   แนวคิด ที่มา และความสำคัญ จากการที่ได้ทดลองทำ EM Ball จะเห็นได้ว่า EM Ball เป็นกลุ่มจุลินทรีย์ประเภทสังเคราะห์แสง เช่น แลกโตบาซิลัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฯลฯ เป็นต้น จึงทำให้เกิดความสงสัยว่า กลุ่มจุลินทรีย์เหล่านี้สามารถนำมาปรับสภาพน้ำเสีย ให้กลายเป็นปุ๋ยได้จริงหรือไม่ และยังสามารถช่วยในการดับกลิ่นเหม็นจากกองขยะได้จริงสมดังกล่าวหรือไม่ ทางกลุ่มจึงได้ทำการรวบรวมข้อมูลการทำ EM Ball โดยได้ข้อมูลคำว่า EM มาจากคำว่า Effective Micro-organisms หมายถึง กลุ่มจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพ    
   โดยต้นกำเนิดนั้นมาจากฝั่งประเทศญี่ปุ่น โดย ศาสตราจารย์ ดร.เทรโอะ ฮิงะ แห่งมหาวิทยาลัย ริวกิว เมืองโอกินาว่า ได้ทดลองใช้เทคนิคทางชีวภาพในการปรับสมดุลของสิ่งแวดล้อม โดยอาศัยกลุ่มจุลินทรีย์สังเคราะห์แสง อย่างเช่น แลกโตบาซิลัส เพนนิซีเลี่ยม ไตรโคเดอมา ฟูซาเรียม สเตรปโตไมซิส อโซโตแบคเตอร์ ไรโซเบี่ยม ยีสต์ รา เหล่านี้เป็นต้น ความสำคัญ คือเป็นจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องอากาศและมีพลัง“แอนติออกซิเดชั่น”

  โดยปรกติแล้ว หัวเชื้อ EM ที่ได้มักจะเป็นของเหลวสีน้ำตาล มีกลิ่นหอมอมเปรี้ยวอมหวาน ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ แต่เนื่องจาก การใช้ EM ที่เป็นแบบน้ำนั้นจะทำให้น้ำไหลไปกับสายน้ำ จึงไม่ค่อยนิยมใช้กับพื้นที่ที่มีน้ำไหล เหมือนดังสภาวะน้ำน้ำในปี 2556 ดังนั้นหากบ้านใครมี สระน้ำ บ่อน้ำ ที่ต้องการใช้ก็สามารถใช้ EM แบบน้ำได้

วัตถุประสงค์

วัตถุประสงค์ 
1) อยากทดลองว่าสามารถนำไปใช้ได้จริงหรือไม่
2) หากสามารถเปลี่ยนน้ำเสียเป็นปุ๋ยได้ก็มีประโยชน์ต่อต้นไม้
3) นำไปทดลองใช้บำบัดน้ำเสียในโรงเรียน

ขอบเขตการศึกษา

ขอบเขตการศึกษา
          ขอบเขตการศึกษาของโครงงานนี้ คือ ต้องการทำ EM Ball มาใช้ประโยชน์กับทางโรงเรียน อัสสัมชัญระยอง โดยน้ำไปบำบัดน้ำเสียบริเวณที่มีกลิ่นเหม็นให้กลิ่นเหม็นหมดไป และยังสามารถนำไปเป็นปุ๋ยให้กับต้นไม้ของโรงเรียนได้อีกด้วย

ผลจากการดำเนินงานโครงงาน

ผลจากการดำเนินงานโครงงาน
           พบว่า การทำน้ำ EM (Effective Micro-organisms) มีข้อจำกัด คือ เนื่องจากมันเป็นน้ำดังนั้น ไม่สามารถ ใช้ในพื้นที่ที่เป็นน้ำไหลได้เลย เช่น ถนนหน้าบ้านที่น้ำท่วม, ลำคลอง หรือแม่น้ำที่เป็นทางน้ำไหล ก็ใช้ไม่ได้ เพราะหากทิ้งลงไปก็จะละลายหายไปในทันทีแล้วจะไม่ได้ผลดังที่ต้องการ จึงควรใช้กับสถานะการณ์ให้ถูกต้อง